เทวดามีหน้าที่อะไร ความสำคัญที่มีต่อวัฒนธรรมไทย

ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องของเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ที่มีการเคารพบูชาในสังคมไทย มีความแตกต่างหลากหลาย ทั้งตามความเชื่อส่วนบุคคลและความเชื่อในแต่ละพื้นที่ ซึ่งเรียกได้ว่าเทวดามีบทบาทหน้าที่และความสำคัญในสังคมวัฒนธรรมไทยมาอย่างยาวนาน และยังคงมีความเชื่อเกี่ยวกับเทวดากันมาอย่างต่อเนื่อง ในบทความนี้จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับความสำคัญและบทบาทหน้าที่ของเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อในสังคมวัฒนธรรมไทย พร้อมแนะนำสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือองค์เทพที่เป็นที่รู้จักในสังคมไทย เพื่อการไหว้บูชาและขอพรด้านต่าง ๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล เทวดาตามความเชื่อคืออะไร หากพูดคุยคำนิยามของคำว่า ‘เทวดา’ อาจกล่าวได้ว่าไม่มีคำนิยามที่เฉพาะเจาะจง เนื่องจากมีความเชื่อเกี่ยวกับเทวดาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่หลากหลายอย่างมาก แต่สำหรับความหมายตามความเชื่อในสังคมวัฒนธรรมไทย จะหมายถึงผู้ที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติ และอยู่ต่างภพกับมนุษย์ โดยเชื่อว่าสามารถดลบันดาลสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นได้โดยไม่มีการพิสูจน์ตามหลักวิทยาศาสตร์ หากพูดถึงเทวดาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สามารถแบ่งได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น เทวดาตามความเชื่อทางศาสนา เทวดาประจำท้องถิ่นแต่ละพื้นที่หรือภูมิภาค และเทวดาที่มีความเกี่ยวข้องกับอาชีพ เป็นต้น เนื่องจากความเชื่อมักจะเกิดขึ้นจากการรับรู้ ประสบการณ์ และการดำเนินชีวิต ดังนั้น เมื่อปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้มีความแตกต่างกัน ความเชื่อของแต่ละบุคคลหรือในแต่ละพื้นที่ก็จะมีความแตกต่างกันไปด้วยนั่นเอง บทบาทหน้าที่ของเทวดาตามความเชื่อในวัฒนธรรมไทย ตามความเชื่อที่มีมาอย่างยาวนานในสังคมวัฒนธรรมไทย เทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ มีบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น บทบาทในการเป็นผู้คุ้มครอง ดูแลทั้งตัวบุคคลที่เคารพเทวดานั้น ๆ รวมถึงสถานที่และสิ่งของต่าง ๆ รวมถึงเป็นผู้ดลบันดาลตามพรที่มนุษย์อธิษฐาน โดยเฉพาะการขอพรให้เกิดสิ่งดี ๆ มีความสุข และความเจริญก้าวหน้าทางด้านหน้าที่การงานและทุกเรื่องในชีวิต […]

การทำพิธีบวงสรวง ทวยเทพ มีจุดประสงค์อะไรบ้าง

การทำพิธีบวงสรวงทวยเทพ เป็นหนึ่งในความเชื่อและการประกอบพิธีกรรมที่สืบทอดกันมาและอยู่คู่กับวัฒนธรรมไทยอย่างยาวนาน โดยมีความเชื่อว่าจะเป็นพิธีกรรมที่เสริมความเป็นสิริมงคล ความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตและหน้าที่การงาน และเป็นการแสดงถึงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ ซึ่งในบทความนี้จะพามาทำความรู้จักพิธีบวงสรวงทวยเทพหรือสิ่งศักดิ์สิทธิต่าง ๆ พร้อมทั้งจุดประสงค์ในการจัดทำพิธีบวงสรวง เพื่อให้เป็นการจัดทำพิธี การเตรียมเครื่องบวงสรวง และบทสวดที่ตรงตามหลักความเชื่อมากที่สุด พิธีบวงสรวงในสังคมไทย มีจุดประสงค์อย่างไร การทำพิธีบวงสรวง คือ พิธีกรรมสำคัญทางศาสนาที่มนุษย์ทำเพื่อเป็นการแสดงออกถึงความเคารพต่อทวยเทพ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงบรรพบุรุษ ซึ่งในแต่ละสังคมวัฒนธรรมก็จะมีความเชื่อและความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่แตกต่างกันไป รวมถึงความเชื่อของแต่ละบุคคลด้วยเช่นกัน โดยมีจุดประสงค์หลัก ๆ คือการขอพร ขอความคุ้มครอง ความเจริญรุ่งเรือง และก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ยกตัวอย่างเช่นการไหว้เจ้าที่เจ้าทาง ศาลพระภูมิที่มีอยู่ในบ้านและสถานที่ที่ต่าง ๆ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่พบได้บ่อยที่สุด โดยมีจุดประสงค์ของการบูชาเพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิต รวมถึงด้านการค้าขายก็มีการไหว้เจ้าที่เจ้าทางเพื่อให้ค้าขายร่ำรวย เฮง ๆ ปัง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมเครื่องบวงสรวง และบทสวดให้ถูกต้องตามหลักความเชื่อ การเตรียมพร้อมสำหรับพิธีบวงสรวงที่ควรรู้ สิ่งสำคัญสำหรับการทำพิธีบวงสรวงจะต้องคำนึงถึงเครื่องบวงสรวงและบทสวดให้ถูกต้องตามหลักความเชื่อมากที่สุด ซึ่งในการจัดพิธีบวงสรวงของแต่ละองค์เทพ จะมีการจัดเครื่องบวงสรวงที่แตกต่างกันอย่างเหมาะสมที่สุด ดังนั้น ก่อนที่จะจัดพิธีบวงสรวงจะต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับการเตรียมเครื่องบวงสรวงให้ครบถ้วนและถูกต้องมากที่สุด เช่น บายศรี / ดอกไม้ / ธูปเทียน / อาหารคาว-หวาน / ผลไม้มงคล เป็นต้น […]

หอพักไม่มีศาล แต่อยากไหว้เจ้าที่กลางแจ้งต้องทำอย่างไร

แม้ว่าในปัจจุบัน โลกจะก้าวเข้าสู่ยุคสมัยของเทคโนโลยีแบบเต็มตัวแล้ว แต่กระนั้นศาสนาและความเชื่อยังคงไม่เลือนหายแม้แต่น้อย โดยเฉพาะประเทศไทยที่ยังคงมีผู้คนนับถือและกราบไหว้ศาลต่าง ๆ เป็นประจำ และรวมไปถึงพิธีกรรมบวงสรวงต่าง ๆ อย่างการไหว้เจ้าที่กลางแจ้ง เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ความเชื่อและความศรัทธายังคงอยู่ไปอย่างยืนยาว แต่กระนั้น สำหรับผู้ที่ต้องจากบ้านมาหางานทำ ที่อยู่อาศัยหรือหอพักไม่มีศาล แต่อยากไหว้เจ้าที่กลางบ้าน สามารถทำอย่างไรได้บ้าง บทความนี้มีคำตอบให้แก่ท่านอย่างแน่นอน ทำไมต้องไหว้เจ้าที่? เชื่อได้เลยว่าสำหรับเด็กวัยรุ่นยุคใหม่ หรือผู้คนที่ไม่ได้นับถือศาสนาพุทธมักจะตั้งคำถามเมื่อเห็นการทำพิธีไหว้เจ้าที่ว่า “ทำไมต้องไหว้ด้วย?” โดยจริง ๆ แล้วตามความเชื่อที่สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตกาล เชื่อกันว่าทุกสถานที่จะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทวดา หรือเจ้าที่เจ้าทางเคยปกปักสถานที่แห่งนั้น หรืออาจจะเป็นวิญญาณเจ้าของเดิมที่เสียชีวิตลง ซึ่งการไหว้เจ้าที่หรือการตั้งศาลเจ้าที่นั้นจะเป็นการแสดงความเคารพและบูชา เพื่อให้คุ้มครองและคอยปกปักรักษาบ้านหรือสถานที่แห่งนั้นไว้ ไหว้เจ้าที่กลางแจ้ง วันไหนได้บ้าง? สำหรับวันที่ได้รับความนิยมในการไหว้เจ้าที่กลางแจ้งที่สุดคือวันพฤหัสบดี เพราะเป็นวันครูและเป็นวันมงคล รวมไปถึงวันอังคารและวันเสาร์ก็ถือได้ว่าเป็นฤกษ์ดีเช่นเดียวกัน ซึ่งเวลาที่เหมาะสมและควรค่าแก่การประกอบพิธีไหว้เจ้าที่กลางแจ้งคือ 09:09 หรือเวลา 12:00 น. แต่กระนั้น หากพูดกันตามตรงแล้ว การไหว้เจ้าที่กลางแจ้งไม่มีวันและเวลาที่ตายตัวหรือบังคับที่ชัดเจน ซึ่งหมายความว่าการไหว้เจ้าที่กลางแจ้งสามารถเมื่อไหร่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ความต้องการและความเชื่อของผู้ต้องการไหว้เป็นหลักก่อนเสมอ แม้ว่าอาจจะเป็นวันที่คนส่วนใหญ่ต่างบอกว่าเป็นวันไม่ดีหรือวันอัปมงคล แต่หากเป็นวันที่ผู้ทำพิธีเชื่อว่าดีต่อตนเองก็สามารถทำได้เช่นกัน (อ่านเพิ่มเติม : เช็กให้ชัวร์ ไหว้เจ้าที่ ควรทำกี่โมง?) ขั้นตอนไหว้เจ้าที่กลางแจ้งที่ท่านอาจจะยังไม่รู้ […]

จัดโต๊ะหมู่บูชา วางลำดับพระอย่างไรให้ถูกต้องตามหลักศาสนา

โต๊ะหมู่บูชาเป็นสิ่งที่สามารถพบเห็นได้อย่างแพร่หลายไม่แพ้กับศาลพระภูมิ ศาลเจ้าที่หรือศาลพระพรหมเลยแม้แต่น้อย ซึ่งอาจจะเรียกว่าหิ้งพระก็ได้เช่นเดียวกัน โดยการจัดโต๊ะหมู่บูชาสามารถทำได้ด้วยตนเอง ไม่จำเป็นต้องประกอบพิธีกรรมบวงสรวงใด ๆ ก่อนจัดตั้ง แต่กระนั้น จำเป็นต้องวางลำดับพระบนโต๊ะหมู่บูชาให้ถูกต้องและเหมาะสมตามหลักศาสนาและความเชื่อ เพื่อช่วยเสริมความเป็นสิริมงคลและแสดงความเคารพแต่สิ่งที่นำมาบูชา  ดังนั้นแล้ว จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมต้องศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับลำดับการวางพระบนโต๊ะหมู่บูชาให้ถี่ถ้วนก่อน เพราะนอกเหนือจากด้านความศรัทธาแล้ว ยังเสริมความเป็นสิริมงคล และช่วยให้การดูแลรักษาง่ายมากขึ้นด้วย โดยบทความนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับวิธีการเรียงลำดับการวางพระให้ถูกต้องตามหลักศาสนา รวมถึงข้อควรรระวังสำหรับการจัดโต๊ะหมู่บูชา จะมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ตามไปดูในบทความพร้อม ๆ กัน เรียงลำดับการตั้งพระบนโต๊ะหมู่บาชูให้เหมาะสม ถูกต้องตามหลักศาสนา การจัดเรียงพระบนโต๊ะหมู่บูชานอกจากจะเป็นการแสดงถึงตำแหน่งและการให้เกียรติแล้ว ยังช่วยส่งเสริมความเป็นสิริมงคลให้แก่เจ้าของบ้านและผู้อยู่อาศัยได้เป็นอย่างดีอีกด้วย  นอกจากนี้ ในด้านความสวยงาม การจัดพระให้เป็นระเบียบเรียบร้อยยังดูสะอาดตา สวยงาม และศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงง่ายต่อการดูแลรักษาและทำความสะอาดด้วยเช่นเดียวกัน 1. พระพุทธรูป ตำแหน่งของพระพุทธรูปต้องอยู่ในตำแหน่งสูงที่สุด ซึ่งเป็นพระประธานที่แสดงถึงตัวแทนของพระพุทธเจ้า องค์พระศาสดาแห่งพุทธศาสนา โดยปกติแล้วนิยมบูชาพระแก้วมรกต พระพุทธชินราช หรือพระพุทธชินสีห์ เป็นต้น แต่ข้อควรระวังคือ อย่าให้พระองค์องค์อื่นอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่าหรือช่อดอกไม้บูชาอยู่ในระดับความสูงที่เกินกว่าองค์พระประธาน 2. พระอรหันต์ สำหรับบ้านไหนที่มีการบูชาพระอรหันต์ ควรวางท่านในตำแหน่งรองลงมาจากพระประธานอย่างพระพุทธรูป ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผู้คนนิยมบูชาเป็นพระอานนท์ พระสังกัจจายน์ พระอุปคุต หรือพระสิวลี เป็นต้น 3. พระอริยสงฆ์ รองลงมาคือตำแหน่งของพระอริยสงฆ์ ไม่ว่าจะเป็นหลวงปู่ทวด […]

พิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คืออะไร ต้องทำอย่างไรบ้าง

ในปัจจุบัน เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ ถูกพัฒนาและยกระดับขึ้นอย่างมาก จนนำโลกให้ก้าวเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีอย่างเต็มตัว แต่กระนั้น ศาสนา พิธีกรรม และความเชื่อยังคงมาอยู่ไม่น้อยลงไปเลยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งหากพูดกันตามตรงแล้ว เทคโนโลยีช่วยทำให้ประชากรโลกเข้าสู่ยุคใหม่ แต่ความเชื่อเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้นับถือมีสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจในการใช้ชีวิต จึงไม่แปลกเลยที่เรื่องลี้ลับและความเชื่อต่าง ๆ ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน โดยบทความนี้เราจะพาไปทำความรู้จักและทำความเข้าใจเกี่ยวกับพิธีกรรม หรือพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์กันให้มากขึ้นว่าคืออะไร ทำไมถึงต้องทำ ไปจนถึงขั้นตอนและกระบวนการสำคัญสำหรับพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับพิธีกรรม ความเชื่อ และศาสนาให้ถ่องแท้นั่นเอง พิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คืออะไร? ตั้งแต่สมัยโบราณ ตามความเชื่อทางศาสนาพุทธแล้ว พิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์คือการแสดงความยอมรับนับถือต่อผู้ที่มีพระคุณยิ่งใหญ่ในชีวิต มีพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระอริยสงฆ์สาวก เทพไท้เทวา คุณบิดามารดา อาจารย์ทุกๆพระองค์ ทุกๆชาติ รวมทั้งพระภูมิเจ้าที่ ท่านท้าวจาตุรมหาราชทั้ง ๔ ท่านพระยายมราช เคารพท่านผู้เป็นใหญ่ใน ทั้ง ๓ โลก อย่างไรก็ตาม ความหมายของพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ทำสืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้นมีความแตกต่างกันออกไปตามจุดประสงค์ แต่หลัก ๆ แล้วเป็นการแสดงความนับถือ และบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เจ้าที่เจ้าทาง หรือเทวดาอารักษ์ เพื่อให้การประกอบกิจการหรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ ลุล่วงไปได้ด้วยนี่นั่นเอง ประเภทของพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มากกว่าการขอพร ตามจริงแล้ว […]

วิธีเลือกศาลพระภูมิให้เหมาะกับตัวบ้าน

นอกจากการตั้งศาลพระภูมิที่มีความสำคัญแล้ว การเลือกศาลพระภูมิให้เหมาะสมกับตัวบ้านก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ซึ่งตามความเชื่อแล้ว ศาลพระภูมิที่เหมาะสมกับตัวบ้านนั้นสามารถเสริมฮวงจุ้ย พลังงานดี ๆ และความเป็นสิริมงคลให้แก่บ้านและผู้อยู่อาศัยได้ โดยบทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกศาลพระภูมิว่ามีความสำคัญอย่างไร พร้อมวิธีการเลือกศาลพระภูมิให้เหมาะสมกับตัวบ้าน เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลแก่ผู้อยู่อาศัย ศาลพระภูมิที่เหมาะสมกับตัวบ้าน สำคัญอย่างไร? ไม่เพียงแต่การเคารพบูชาเท่านั้น ศาลพระภูมิที่เหมาะสมกับตัวบ้านยังส่งเสริมในด้านอื่น ๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะการเสริมโชคลาภ ป้องกันภัยอันตราย ความสวยงาม และการแสดงความเคารพ เรามาดูกันดีกว่าว่า การเลือกศาลพระภูมิให้เหมาะสมกับตัวบ้าน ไม่ว่าจะด้านใดก็ตาม มีความสำคัญอย่างไร เพื่อเสริมฮวงจุ้ย (Feng Shui) และความเป็นสิริมงคล เสริมโชคลาภ การเลือกศาลพระภูมิที่เหมาะสมกับตัวบ้าน ควบคู่ไปกับการตั้งศาลในตำแหน่งที่ดีและเหมาะสมนั้นจะช่วยดึงดูดพลังงานด้านบวกเข้ามาในตัวบ้าน ทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความเจริญก้าวหน้าและโชคดี ไม่ว่าจะเป็นด้านการงาน การเงิน หรือด้านสุขภาพ ป้องกันภัยอันตราย สิ่งอัปมงคลต่าง ๆ หรือพลังงานชั่วร้ายที่ส่งผลต่อการเกิดปัญหาภายในบ้าน ทั้งปัญหาครอบครัว ความขัดแย้ง หรืออุบัติเหตุ ให้ไม่สามารถเข้ามาภายในบ้านและส่งผลต่อผู้อยู่อาศัยได้ รวมไปถึงสิ่งชั่วร้ายอย่างภูต ผี ปีศาจ และสัมภเวสี เป็นต้น ความสวยงาม ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัจจุบันศาลพระภูมิมีรูปแบบต่าง ๆ ออกมาอยู่ตลอด ซึ่งมีความสวยงามที่แปลกใหม่ตามยุคสมัย ดังนั้นแล้ว การเลือกศาลพระภูมิที่สวยงามและเหมาะสมกับตัวบ้านสามารถเสริมความเป็นสิริมงคลและเพิ่มจุดเด่นด้านความสวยงามของบ้านได้เป็นอย่างดี […]

มีศาลพระภูมิหันเข้าหน้าบ้านได้ไหม ส่งผลต่อฮวงจุ้ย อย่างไร

ศาลพระภูมิเป็นความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดูที่แผ่แพร่มายังประเทศไทย ซึ่งหากจะพูดว่าศาลพระภูมิไม่มีความเกี่ยวข้องกับประเทศจีน โดยเฉพาะฮวงจุ้ยก็ถือว่าไม่ผิดนัก เนื่องจากศาลพระภูมิเป็นความเชื่อส่วนบุคคล ไม่เฉพาะเจาะจงว่าศาสนาอะไรต้องตั้งศาล เพราะหากเลือกตั้งศาลพระภูมิหรือศาลพระพรหม แต่ไม่มีการเคารพบูชา หรือดูแลรักษาตามหลักการที่ถูกต้องและตามความเชื่อที่สืบกันมา ศาลพระภูมิอาจส่งผลเสียมากกว่าผลดีอย่างการปกปักรักษาบ้านเรือน ผลกระทบของการหันศาลพระภูมิเข้าหน้าบ้าน ตามฮวงจุ้ย หากพูดถึงการหันหน้าศาลพระภูมิตามฮวงจุ้ยแล้ว ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอันขาด เพราะจะเป็นการขัดพลังงานของบ้าน รวมทั้งส่งผลต่อความเป็นอยู่ของผู้อยู่อาศัย ซึ่งประกอบไปด้วย ดังนี้ ปัญหาภายในครอบครัว การประสบปัญหาความไม่สงบภายในครอบครัว จากปกติที่ไม่เคยมีปัญหาอะไรกันเลย อาจจะเกิดจากศาลพระภูมิหันหน้าเข้าหาหน้าบ้าน ซึ่งในกรณีที่ร้ายแรงที่สุด อาจจะทำให้เกิดการเลิกราหรือทำร้ายร่างกายกันที่รุนแรง ความเคารพ เชื่อกันว่า การตั้งศาลพระภูมิที่หันเข้าหาหน้าบ้านเป็นการไม่แสดงความเคารพและไม่ให้เกียรติต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สถิตอยู่ในศาล ซึ่งในกรณีที่รุนแรงอาจถึงขั้นที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์โกรธเกรี้ยวและไม่สิงสถิตอยู่ ณ ศาลพระภูมิเลยก็เป็นได้ พลังงานไม่ดี ตามฮวงจุ้ยแล้ว ศาลพระภูมิที่หันไปตรงกับหน้าบ้านส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลของพลังงาน โดยที่พลังงานดีเสี่ยงต่อการถูกดึงออกจากบ้าน ทำให้โชคลาภ ดวงชะตา รวมถึงความเจริญรุ่งเรืองมลายหายไปด้วย ไม่เป็นสิริมงคล เชื่อกันว่าศาลพระภูมิหันเข้าหน้าบ้านทำให้ภูต ผี ปีศาจ สัมภเวสี และสิ่งอัปมงคลต่าง ๆ เข้าสู่บ้านได้อย่างง่ายดาย ไม่ถูกการปกป้องจากเทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ส่งผลให้สิ่งชั่วร้ายเหล่านั้นครอบงำบ้าน แม้กระทั่งผู้อยู่อาศัยด้วย ดังนั้นแล้ว ควรหันหน้าศาลพระภูมิไปในทิศทางที่เหมาะสม เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่บ้าน (อ่านเพิ่มเติม: ศาลพระภูมิควรตั้งตรงไหนของบ้าน ให้ถูกตามหลักฮวงจุ้ย) ศาลพระภูมิหันหน้าเข้าบ้าน […]

ศาลพระพรหม คืออะไร? ตามหลักความเชื่อของคนไทย

ในปัจจุบัน สังคมและวัฒนธรรมไทยผูกติดอยู่กับความเชื่อและความศรัทธาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือสิ่งที่มองไม่เห็นกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่โบราณ ซึ่งการตั้งศาลก็เปรียบเสมือนการแสดงความเคารพและบูชาต่อเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ศรัทธา เช่นเดียวกันกับศาลพระพรหมที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในประเทศไทย แต่กระนั้นก็มั่นใจได้เลยว่าคนไทย โดยเฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาพุทธยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับพระพรหมและศาลพระพรหมมากนัก ดังนั้นแล้ว เราจะพาไปทำความรู้จักกับพระพรหมว่าคืออะไร จากนั้นก็เป็นศาลพระพรหมพร้อมจุดประสงค์ในการตั้งศาล ตามหลักความเชื่อของคนไทยที่นับถือพุทธศาสนา ทำความรู้จักกับ พระพรหม เทพเจ้าสูงสุด! ที่มารูปภาพ : https://th.wikipedia.org/wiki/พระพรหม พระพรหมเป็นหนึ่งในมหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ในตรีมูรติของศาสนาฮินดู ซึ่งตามความเชื่อแล้ว พระพรหมเป็นเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ ความเมตตา และให้กำเนิดสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาล รวมถึงเป็นพระผู้สร้างโกลและให้กำเนิดคัมภีร์พระเวท (Vedas) อีกด้วย โดยเชื่อกันว่า พระพรหมมีลักษณะคือ สี่พักตร์ พระศอสวมลูกประคำ พระหัตถ์แต่ละข้างถือดอกบัว คัมภีร์ และหม้อน้ำ พาหนะคือหงส์หรือห่าน มีพระชายาคือพระสุรัสวดี ผู้ซึ่งเป็นเทพีแห่งศิลปะวิทยาการและความรอบรู้ ในคัมภีร์มัตสยปุราณะกล่าวเอาไว้ว่า เดิมทีแล้วพระพรหมมีถึงห้าพักตร์ ซึ่งเกิดจากการที่พระพรหมได้ให้กำเนิดผู้หญิงนางหนึ่งนามว่า ‘ศตรูป’ ขึ้นมา ความงามของศตรูปทำให้พระองค์หลงใหล เมื่อศตรูปนี้เคลื่อนไปทางใด พระพรหมก็จะหันพระพักตร์เพื่อมองตามไปด้วย แต่ว่ามีครั้งหนึ่งที่พระพรหมไปดูแคลนพระศิวะเข้า ทำให้พระศิวะพิโรธ และใช้ไฟบรรลัยกัลป์จากพระเนตรที่สามที่กลางพระนลาฏเผาพระพักตร์ที่อยู่ด้านบนเศียรของพระพรหม จนเหลือเพียงสี่พักตร์  อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกความเชื่อหนึ่งที่เล่าว่า เนื่องด้วยพักตร์ด้านบนของพระพรหมนั้นเจิดจรัสมากเกินไป ทำให้พวกสุระและอสุระทนไม่ได้ จึงขอร้องให้พระศิวะเป็นผู้ตัดให้และยังเชื่อด้วยว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างบุคคลในวรรณะต่าง ๆ จากอวัยวะแต่ละส่วน […]

ข้อห้ามการตั้งศาลพระภูมิ ที่คุณควรรู้ไว้

ศาลพระภูมิเป็นความเชื่อที่แสดงถึงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทวดา เจ้าที่เจ้าทาง หรือวิญญาณต่าง ๆ ตามศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ซึ่งการตั้งศาลเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอันขาด เพราะนอกจากความเป็นสิริมงคลในการพักอาศัยแล้ว ยังเป็นการหลีกเลี่ยงและป้องกันสิ่งชั่วร้ายหรือภัยอันตรายอีกด้วย โดยบทความนี้เราจะแนะนำข้อห้ามที่ไม่ควรปฏิบัติสำหรับการตั้งศาลพระภูมิที่หลายคนอาจมองข้าม เพื่อความเป็นสิริมงคล และหลีกเลี่ยงความชั่วร้ายที่อาจเกิดขึ้นขณะอยู่อาศัย ข้อห้ามที่คุณอาจจะยังไม่รู้เกี่ยวกับ ‘การตั้งศาลพระภูมิ’ ห้ามตั้งศาลพระภูมิใกล้สิ่งสกปรก อย่างที่ทราบกันดีว่าศาลพระภูมิเจ้าที่เป็นสิ่งที่ผู้คนเคารพบูชา ตามความเชื่อแล้ว การตั้งศาลพระภูมิในบริเวณที่โล่ง โปร่ง และที่สำคัญคือความสะอาด จะส่งผลให้เทวดาหรือเจ้าที่เจ้าทางที่สถิตอยู่ในศาลสามารถอยู่อาศัยได้อย่างสบายใจ ดังนั้นแล้ว ควรเลี่ยงการตั้งใกล้พื้นที่สกปรก รกชื้น รวมไปถึงห้องน้ำและห้องครัวด้วย เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้อยู่อาศัย ห้ามตั้งศาลพระภูมิใกล้พื้นที่กลิ่นเหม็น เช่นเดียวกันกับสิ่งสกปรก พื้นที่ที่มีกลิ่นเหม็นหรือกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ เป็นสัญลักษณ์ของความชั่วร้าย หากตั้งศาลพระภูมิใกล้พื้นที่ที่มีกลิ่นเหม็น อาจทำให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ไม่พอใจและไม่คุ้มครองบ้านได้ รวมถึงยังไม่เป็นสิริมงคลอีกด้วย ห้ามตั้งศาลพระภูมิหันหน้าตรงประตูบ้าน หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าการตั้งศาลพระภูมิโดยหันหน้าตรงกับประตูบ้านจะส่งผลให้พลังหยิน (Yin) หรือพลังงานดี ๆ จากศาลพระภูมิปะทะเข้ากับพลังหยาง (Yang) จากประตูบ้าน ซึ่งทำให้เกิดความไม่สมดุล และเกิดความเดือดร้อนแก่บ้านหรือผู้อาศัยได้ ห้ามตั้งศาลพระภูมิใกล้พื้นที่ศาลเจ้าอื่น ศาลแต่ละศาลต่างมีพลังของกันและกัน ซึ่งเมื่อไหร่ก็ตามที่ศาลพระภูมิตั้งใกล้กับศาลเจ้าอื่น ๆ จะทำให้พลังทั้งสองปะทะกันและเกิดความไม่สมดุล ซึ่งอาจนำไปสู่ความรุ่นร้อนของบ้านหรือความเดือดร้อนต่าง ๆ ได้ ห้ามตั้งศาลพระภูมิที่มีสายไฟลอดผ่าน […]

ตั้งศาลพระภูมิวันพระได้ไหม ตามหลักความเชื่อ

ศาลพระภูมิเป็นสิ่งที่อยู่คู่สังคมและวัฒนธรรมไทยมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่โบราณ โดยตามความเชื่อแล้ว ศาลพระภูมิเป็นที่สิงสถิตของเทวดา พระภูมิเจ้าที่ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ที่เรามองไม่เห็น เพื่อช่วยโอบอุ้ม ดูแล และปกปักรักษาความเป็นอยู่ของบ้านเรือน รวมถึงตัวของผู้อยู่อาศัยด้วย ให้ปราศภัยอันตรายและอาศัยอย่างมีความสุขนั่นเอง โดยบทความนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับศาลพระภูมิตามหลักความเชื่อว่าเป็นอย่างไร พร้อมเหตุผลว่าควรตั้งศาลพระภูมิวันพระหรือไม่ และมีหลักการตั้งศาลที่ถูกต้องอย่างไรบ้าง ศาลพระภูมิตามความเชื่อของชาวไทย มั่นใจได้เลยว่าหลายคนยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับศาลพระภูมิว่าเป็นความเชื่อของทางศาสนาพุทธ ซึ่งจริง ๆ แล้วศาลพระภูมิเป็นวัฒนธรรมความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดูที่แพร่หลายมายังประเทศไทย จนปัจจุบัน ศาลพระภูมิกลายเป็นเรื่องปกติที่พบเห็นได้อย่างทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นบ้านเล็กหรือบ้านใหญ่ เนื่องจากเชื่อกันว่าการตั้งศาลพระภูมิเป็นการอัญเชิญเทพเทวดา เจ้าที่เจ้าทาง หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาสิงสถิต เพื่อปกปักรักษา คุ้มครองและสร้างความร่มเย็นให้แก่อาคาร บ้านเรือน รวมถึงผู้อยู่อาศัยด้วยนั่นเอง (อ่านเพิ่มเติม: ทำความรู้จักศาลพระภูมิคืออะไร มีความสำคัญแค่ไหนต่อที่อยู่อาศัย) วันพระเหมาะกับการตั้งศาลพระภูมิหรือไม่? จริง ๆ แล้วการตั้งศาลพระภูมิวันพระไม่มีข้อห้ามหรือข้อกำหนดใด ๆ ที่ตายตัว ขึ้นอยู่กับความสะดวกและความสบายใจของเจ้าของบ้าน หากวันพระตรงกับฤกษ์ดีหรือวันที่เจ้าของบ้านชอบ ก็สามารถตั้งศาลพระภูมิในวันพระได้ แต่กระนั้น หากวันพระตรงกับวันอัปมงคล ทางที่ดีควรเลี่ยงวันนั้น เพราะนอกจากจะไม่เป็นสิริมงคลแล้ว ยังอาจทำให้เกิดความลำบาก หรืออุปสรรคต่าง ๆ สำหรับการอยู่อาศัยได้ กระนั้น บางคนเชื่อว่าการตั้งศาลพระภูมิในวันพระไม่เหมาะสม เพราะเชื่อกันว่าวันพระเป็นวันดี เน้นไปที่การทำบุญและสวดมนต์เป็นหลัก […]