การไหว้เจ้าที่เจ้าทาง ศาลพระภูมิ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยปกปักรักษาพื้นที่บริเวณนั้น ๆ เป็นสิ่งที่มีการทำสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน ตั้งแต่ในอดีต เพราะเชื่อว่าเป็นการบอกกล่าวและแสดงความเคารพต่อผู้ที่ดูแลและอยู่ในพื้นที่นั้น ๆ มาก่อน แต่หากใครที่กำลังมีข้อสงสัยว่าการไหว้เจ้าที่ แต่ไม่มีศาลเจ้าที่สามารถทำได้หรือไม่? บทความนี้มีคำตอบ!
ทำอย่างไร หากต้องการไหว้เจ้าที่ โดยไม่มีศาลเจ้าที่
การไหว้ศาลเจ้าที่ เป็นการแสดงความเคารพต่อเจ้าที่ ซึ่งคอยปกปักรักษาและดูแลพื้นที่บริเวณนั้น ๆ คนไทยส่วนใหญ่นิยมตั้งศาลเจ้าที่ไว้ที่บ้าน เพื่อเสริมสิริมงคล เสริมโชคลาภให้กับผู้อยู่อาศัยในบ้าน แต่หากในกรณีที่ไม่มีศาลเจ้าที่ ก็ยังสามารถไหว้เจ้าที่ได้โดยจะต้องมีความศรัทธา มีจิตที่ยึดมั่นและต้องการที่จะแสดงความเคารพต่อเจ้าที่หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์บริเวณที่อยู่อาศํย และปฏิบัติตามขั้นตอนที่เหมาะสม
เพราะสิ่งสำคัญที่สุดในการไหว้เจ้าที่ คือ ความจริงใจ ความศรัทธา และเจตนาที่ดีของเจ้าของบ้านหรือผู้อยู่อาศัยในพื้นที่นั้น ๆ เนื่องจากศาลเจ้าที่เป็นเพียงตัวแทนหรือสื่อกลางของความศรัทธา แต่จิตที่ตั้งมั่นในการแสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างหาก ที่จะช่วยให้การไหว้เจ้าที่นั้นเป็นไปได้อย่างดีที่สุด
ดังนั้น หากไม่มีศาลเจ้าที่ ก็ยังสามารถไหว้เจ้าที่ในโอกาสสำคัญต่าง ๆ หรือเป็นการไหว้เพื่อบอกกล่าวหรือแสดงความเคารพโดยทั่วไป แต่สิ่งสำคัญคือ การจัดเตรียมสถานที่ ของไหว้ และขั้นตอนให้ดีที่สุด
การจัดเตรียมสำหรับไหว้เจ้าที่โดยไม่มีศาลเจ้าที่
จัดเตรียมสถานที่
สถานที่สำหรับไหว้เจ้าที่โดยไม่มีศาลเจ้าที่ ควรเลือกบริเวณที่เป็นมุมสงบภายในบ้าน หรือเลือกพื้นที่ที่คิดว่าเหมาะสมมากที่สุด จากนั้น ให้ทำความสะอาดและจัดโต๊ะสำหรับใช้ในการวางของไหว้ให้สะอาดและเรียบร้อย
จัดเตรียมของไหว้
ของไหว้ที่จะใช้สำหรับการไหว้เจ้าที่ โดยไม่มีศาลเจ้าที่ สามารถจัดเตรียมได้เหมือนกับการไหว้เจ้าที่โดยทั่วไป ได้แก่
- ธูป จำนวน 5 ดอกหรือ 9 ดอก
- เทียน จำนวน 1 คู่
- อาหารที่มีความเรียบง่าย ตัวอย่างเช่น ข้าวสุก, ผลไม้จำนวน 5 อย่าง หรือใช้เป็นขนมที่ไม่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ก็ได้เช่นกัน
- น้ำสะอาด จำนวน 1 แก้ว
- ดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม หรือ ดอกดาวเรือง
หากต้องการไหว้เจ้าที่ในโอกาสพิเศษต่าง ๆ สามารถเพิ่มของไหว้ได้ตามความเหมาะสม ตัวอย่างเช่น ของหวาน, เหล้าขาว หรือน้ำชา เป็นต้น
(อ่านเพิ่มเติม: แชร์วิธีไหว้เจ้าที่ให้ถูกต้อง ไหว้เจ้าที่อย่างไร ใช้ธูปกี่ดอก)
ขั้นตอนในการไหว้เจ้าที่อย่างเหมาะสม
สำหรับการไหว้เจ้าที่ ควรวางของไหว้บนโต๊ะหรือพื้นที่ที่จัดไว้ให้เรียบร้อย พร้อมจุดธูปและเทียน จากนั้น กล่าวคำบูชาหรือคำอธิษฐาน ซึ่งจะเริ่มจากการขออนุญาตเจ้าที่ เพื่อเป็นการขอไหว้และกล่าวถึงเจตนาที่ไหว้ ตัวอย่างเช่น การบอกกล่าวเมื่อย้ายเข้ามาอยู่อาศัย หรือเป็นการขอความเจริญ ความร่มเย็นภายในบ้าน สุดท้าย เมื่อกล่าวคำอธิษฐานเสร็จแล้ว ให้รอจนธูปหมด แล้วจึงค่อยเก็บของไหว้และทำความสะอาดบริเวณพื้นที่ที่ใช้ไหว้เจ้าที่ให้เรียบร้อย
สำหรับการไหว้เจ้าที่ สามารถใช้คำบอกกล่าวหรือคำอธิษฐานได้ตามเหมาะสม เนื่องจากในแต่ละพื้นที่ก็จะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ซึ่งหากใครที่ไม่มั่นใจว่าควรใช้คำอธิษฐานแบบไหนดี? สามารถใช้เป็นคำอธิษฐานดังนี้
“ข้าพเจ้า (ชื่อ-นามสกุล) ขออนุญาตบูชาเจ้าที่เจ้าทาง และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สถิตในสถานที่นี้ ขอโปรดประทานพรให้ครอบครัวของข้าพเจ้ามีความสุข ความเจริญ และปลอดภัย หากมีสิ่งใดที่ล่วงเกิน ขอโปรดให้อภัยด้วยเทอญ”
บทสรุป
การไหว้เจ้าที่สามารถทำได้แม้ไม่มีศาลเจ้าที่ เนื่องจากจุดประสงค์หลักของการไหว้เจ้าที่ คือการแสดงความเคารพต่อเจ้าที่เจ้าทาง หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยดูแลและอยู่อาศัยในพื้นที่นั้น ๆ มาก่อน ดังนั้น การไหว้เจ้าที่จึงสามารถทำได้แม้ไม่มีศาลเจ้าที่ก็ตาม
แต่สำหรับใครที่ต้องการตั้งศาลเจ้าที่ หรือศาลพระภูมิ เพื่อความเป็นสิริมงคล และความสบายใจของผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน ติดต่อได้ที่ เมืองราชศาลพระภูมิ นอกจากจะมีศาลพระภูมิเจ้าที่แบบที่มีการใช้งานกันมาตั้งแต่ในอดีตแล้ว ยังมีศาลโมเดิร์น ที่เข้ากับดีไซน์ของบ้านในยุคสมัยใหม่มากยิ่งขึ้น